ประวัติต้นแดง




ชื่อพื้นเมือง ต้นแดง
เป็นพืชจำพวกต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ Xylia xylocarpa (Roxb.) Taub. var. kerrii (Craib & Hutch) I.C. Nielsen
ชื่อวงศ์ Leguminosae – Mimosoideae
ชื่อทางการค้า Iron wood, Jamba, Pyinkdo, Irul
ชื่อพื้นเมือง สะกรอม ตะกร้อม กร้อม
ชื่ออื่นๆ จาลาน (แม่ฮ่องสอน), สะกรอม (เขมร), ปราน, ไปรน์ (ส่วย), เพ้ย (ตาก), กร้วม (โคราช), คว้าย (กะเหรี่ยง), พ้าน (ละว้า), ตะกร้อม (จันทบุรี)


ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบสูง 15-25 เมตร ลำต้นค่อนข้างเปลาตรงหรือเป็นปุ่มปม ในสภาพที่ดินตื้นไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต ลำต้นจะเล็กและคดงอ จะแตกกิ่งต่ำมีพุ่มใบมาก เปลือกสีเทาอมแดง ตกสะเก็ดออกเป็นแผ่นบางๆ รอบลำต้น เปลือกในสีน้ำตาลแดง เมื่อสับเปลือกทิ้งไว้จะได้ชันสีแดง

รูปทรง(เรือนยอด) เรือนยอดเป็นพุ่มกว้างไม่ค่อยเป็นระเบียบ
ใบ เป็นช่อแบบขนนกสองชั้น ติดเรียงสลับยาว 10-30 ซม. ช่อหนึ่งๆ มีช่อแขนงที่ออกจากปลายก้านช่อใหญ่
สองช่อ ระหว่างง่ามช่อแขนงจะมีตุ่ม สีน้ำตาลแดงหรือสีชมพูปรากฎอยู่
ดอก มีขนาดเล็ก ออกรวมกับเป็นช่อที่ไม่แยกแขนง รูปทรงกลมคล้ายดอกกระถินกลีบดอกมี 5 กลีบ
สี เหลือง
กลิ่น หอมอ่อน ๆ
ออกดอก ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ - มีนาคม
ผล เป็นฝักรูปไตแบนๆ ผิวฝักแข็งเหมือนไม้ ยาว 7-10 ซม. ฝักแก่จะมีสีน้ำตาลอมเทา เมื่อฝักแก่จะแตกอ้าตามรอยประสานเป็นสองซีก ผนังฝักที่แตกจะม้วนบิดงอ เมล็ดแบนมีหลายเมล็ดติดตามขอบล่างด้านในฝัก
ผลแก่ ระหว่างเดือนตุลาคม – ธันวาคม

ขึ้นกระจายทั่วไปในป่าเบญจพรรณแล้งและขึ้นทุกภาคทั่วประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ตอนล่าง จากสุราษฎร์ธานีลงไป


สรรพคุณทางสมุนไพร
ดอก รสสุขุม แก้ไข้ บำรุงหัวใจ
เปลือกต้น รสฝาดร้อน สมาน ขับฟอกและบำรุงเลือด
แก่น รสฝาดร้อนขื่น ขับฟอกและบำรุงเลือด แก้กระษัยเลือดลม


การใช้ประโยชน์ทางด้านเนื้อไม้ เนื้อไม้มีสีแดงเรื่อๆ หรือสีน้ำตาลอมแดง เสี้ยนเป็นลูกคลื่น เนื้อละเอียดพอประมาณ เนื้อไม้แข็งเหนียว มีความทนทาน โดยมีค่าความถ่วงจำเพาะ 1.18 ค่าความแข็งประมาณ 1,305 กก. ความแข็งแรงประมาณ 1,305 กก./ซม2 และความเหนียวประมาณ 3.30 กก.-ม นอกจากนี้เนื้อไม้ยังตบแต่งและชักเงาได้ดี ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน ทำสะพาน ต่อเรือ เครื่องมือการเกษตร แกะสลัก เครื่องเรือน และหมอนรองรางรถไฟฯ ไม้แดงใช้ทำสิ่งที่ต้องการความแข็งแรงได้ดีทุกอย่าง เพรียงและปลวกไม่ค่อยทำลาย ทั้งเป็นไม้ที่ทนไฟในตัว



เพิ่มเติม
การใช้ประโยชน์ทางด้านนิเวศน์ รักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน และความชุ่มชื้น
การใช้ประโยชน์ทางด้านภูมิสถาปัตย์ ปลูกตกแต่งบริเวณอาคารสถานที่ ปลูกเป็นกลุ่มในสวนสาธารณะหรือที่โล่งแจ้ง
การใช้ประโยชน์ทางด้านโภชนาการ เมล็ดไม้รับประทานได้




ว่ากันว่าเมื่อใดก็ตามที่ต้นแดงออกผลเป็นจำนวนมาก และผลของมันมีการแตกอ้าเกือบทั้งหมด ก็แสดงว่าจะมีพายุและลมแรงในช่วงเข้าฤดูฝน

เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดตาก

ที่มา : วุฒิ วุฒิธรรมเวช, หลักเภสัชกรรมไทย, ๒๕๔๒
http://www.dnp.go.th/EPAC/plant_economic/20dang.htm

อ่านต่อ : http://writer.dek-d.com/yukonthorn/story/viewlongc.php?id=316071&chapter=2#ixzz1SdyZ5F3S

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีแก้ปัญหา putty เป็นภาษาต่างดาวหรือเครื่องหมาย ???

ตั้งเวลาใน crontab